ประเภทของการวิจัย
1. การวิจัยเชิงคุณภาพ
2. การวิจัยเชิงปริมาณ
การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
เป็นการวิจัยที่นักวิจัยจะต้องลงไปศึกษาสังเกตุกลุ่มบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดทุกด้านในลักษณะเจาะลึก โดยใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการเป็นหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ ข้อมูลจะใช้การวิเคราะห์เชิงเหตุผลจะได้มาการสรุปผลและสังเคราะห์ผล มิได้มุ่งเก็บเป็นตัวเลขมาทำการวิเคราะห์
การรวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)
เป็นการวิจัยที่มุ่งหาข้อเท็จจริงและข้อสรุปเชิงปริมาณ โดยเน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบ และการสรุปผลต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือที่มีความเป็นปรนัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่น แบบสอบถามแบบทดสอบ การสังเกต การสัมภาษณ์ การทดลอง เป็นต้น ทั้งนี้ลักษณะข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณจะแบ่งออกเป็น
1. ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data)
ข้อมูลประเภทนี้ได้มาจากการสำรวจภาคสนาม หรือ ต้องทำการจัดการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ด้วยตัวเอง ซึ่ง นิยมใช้คำว่า survey data, raw data เป็นต้น
2. ข้อมูลทุตืยภูมิ (secondary data)
ข้อมูลประเภทนี้จะเป็นการได้จากการที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้ว นั่นคือสามารถนำมาวิเคราะห์ผล ประมวลผลได้เลย ข้อมูลประเภทนี้บางทีนิยมเรียกว่า ข้อมูลมือสอง
อย่างไรก็ตามข้อมูลทั้งสองประเภท จะต้องนำมาทำการจัดประเภทของหมวดหมู่ เรียกว่า ลักษณะของข้อมูล ทั้งนี้แบ่งเป็น 4 ชนิด อย่างไรก็ตาม ในที่นี้ขอแบ่งแบบหยาบ ๆ ออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
1. Cross section data หรือ ข้อมูลภาคตัดขวาง หมายถึง ข้อมูลที่ทำการจัดเก็บ ณ ช่วงเวลา ขณะใด ขณะหนึ่ง เช่น นาย ก สำรวจความพึงพอใจต่อผู้นำ ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ณ ช่วงเวลานั้น เป็นต้น
2. Time series data หรือ ข้อมูล อนุกรมเวลา หมายถึง ข้อมูลที่จัดเก็บตามเวลาต่อเนื่อง เช่น จำนวนนักท่องเที่ยวรายได้ จำนวนผู้เข้าพักแต่ละวัน ดัชนีหุ้นประจำวัน เป็นต้น
3. Pane; data หรือ ข้อมูลแบบพาเนล หมายถึง ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อมูลภาคตัดขวางและอนุกรมเวลาร่วมกัน นั่นคือ 1+2 เท่ากับข้อมูลประเภทที่สาม
รูปแบบของตัวแปร (Types of Variables) หรือ ประเภทของการวัดข้อมูล
โดยสรุปเมื่อทราบลักษณะข้อมูลแล้วลำดับต่อไปต้องทราบรูปแบบของตัวแปร ตัวแปรหมายถึงสิ่งที่เราจัดเก็บ ต้องทราบว่ามีลักษณะใดก่อน ทั้งนี้หากไม่ทราบ การวิเคราะห์ข้อมูล และการเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์จะไม่เหมาะสม ตัวแปร แบ่งออกเป็น 4 ชนิดคือ
1. Nominal Scale คือ ตัวแปรนามบัญญัติ คือ ตัวแปรเชิงคุณภาพ ไม่สามารถนำมาบวกลบคูณหารได้ ทำได้เพียงจำแนกความถี่ ร้อยละ เช่น เพศ ศาสนา
2. Ordinal Scale คือ ข้อมูลที่ได้จากการเรียงลำดับความแตกต่างข้อมูล เช่น ความชอบ ความประทับใจ บอกได้แค่ว่า อะไรมากกว่าอะไร
3. Interval Scale คือ ข้อมูลแบบอัตรภาคชั้น เป็นข้อมูลเชิงปริมาณแต่มีลักษณะตัวเลขแบบสมมติ เช่น 0 คะแนน กับ 1, 2 คะแนน แบ่งช่วงห่างคะแนนเท่ากัน ในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์นิยม ทำให้ตัวแปรแบบเรียงลำดับ จัดเข้ามาอยู่ในตัวแปรประเภทนี้ โดยการสมมติ ความแตกต่างข้อมูลให้เท่ากัน เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์
4. Ratio Scale คือ ข้อมูลแบบสัดส่วน หมายถึงข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวเลขไม่ใช่การสมมติ เช่น มีเงิน 0 บาท หมายถึงไม่มีเงิน ตัวแปรแบบนี้สามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลได้ทุกประเภท
ทั้งนี้ในโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS จะผนวกตัวแปรแบบที่ 3 กับ 4 เรียกว่า Scale
ขั้นตอนในการทำวิจัย
1. การกำหนดปัญหาการวิจัย (Problem definition)
คือการบอกกถึงง
ที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย สมมติฐานของการวิจัย
และประโยชน์ที่คาดจะได้รับ
เป็นการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ว่ามีใครทำวิจัยในประเด็นเกี่ยวกับปัญหานั้น ๆ ไว้บ้าง ผลการวิจัยที่ผ่านมาได้ข้อค้นพบอะไรบ้าง มีการวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยอย่างไร ตัวแปรที่ใช้ในการมีอะไรบ้าง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นอย่างไร มีการใช้เครื่องมือและใช้เทคนิคในการได้มาซึ่งผลสรุปในการทำวิจัยอย่างไร เป็นต้น ทั้งนี้จากสังเคราะห์การทบทวนงานวิจัย จะนำมาซึ่งการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย (conceptual framework) ว่าการวิจัยมีประเด็นและสาระสำคัญอะไรบ้าง และขอบเขตการวิจัยเป็นอย่างไร
3. วิธีดำเนินการวิจัย (Methodology)
เป็นการธิบายถึงตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้างและนิยามอย่างไร แบบแผนการวิจัย (research design) เป็นอย่างไร การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือการวิจัยและการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
4. การรายงานผลการวิจัย (Result)
เป็นการแสดงผลลัพธ์จากการวิจัย
แสดงผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลให้อยู่ในรูปแบบของรายงานการวิจัย โดยนำเสนอในรูป ของตาราง แผนภาพ เป็นต้น
5. การสรุปและอภิปรายผล (Conclusion and Discussion)
เป็นการสรุปการดำเนินงานทั้งหมดตั้งแต่การกำหนดปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย วิธีดำเนินการวิจัยอย่างย่อ ผลการวิจัย การอภิปรายผลการศึกษาที่เกิดขึ้น ตลอดจนข้อเสนอแนะในการประเด็นปัญหาวิจัยที่ควรได้รับการวิจัยต่อไป
สำหรับผู้สนใจรายละเอียดทั้งหมดในการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์และที่เกี่ยวข้องสามารถดาวน์โหลดจากเอกสารประกอบการสอนวิชา 962 401 ระเบียบวิธีวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ ของ อ.ศักรินทร์ นนทพจน์ หรือจะติดตามที่ละบทจาก Blog นี้ก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น